วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

ภารกิจพิเศษ วิคราะห์วรรณกรรมเรื่อง นางสิบสอง

บทที่1
                                                                   สรุปเนื้อหานิทาน นางสิบสอง
             ณ เมืองทานตะวัน เมืองในอีกมิติเป็นที่อยู่ของนางยักษ์สนธมารผู้ครองเมือง เมืองนี้มีผลไม้ที่ชื่อ “มะม่วงหาว “ และ “มะนาวโห่” ซึ่งเป็นผลไม้วิเศษที่หากคนต่างเผ่าพันธุ์เกิดรักกันแล้ว ถ้ากินผลมะม่วงหาวและมะนาวโห่ จะทำให้สามารถมีลูกได้ จึงเป็นที่ต้องการของคนต่างเมือง ที่มักจะลอบเข้ามาขโมยผลไม้เสมอ แต่ไม่มีใครเคยรอดออกมาได้
                ณ เมืองมนุษย์ เศรษฐีและภรรยาได้บนบานขอลูกจากเทวดา  แต่เกิดความผิดพลาด เทวดาจึงเสกลูกสาวมาให้ถึง 12 คน ทำให้เศรษฐียากจนลงเรื่อย ๆ  จนต้องนำนางทั้ง 12 ไปปล่อยป่า
ในขณะเดียวกัน นางสนธมารได้แก่ลง  ศัลยมารเสนอว่าต้องผสมยาอายุวัฒนะให้นางยักษ์สนธมารเพื่อให้คงความสาวไปตลอด  โดยมีส่วยผสมหลักคือดวงตาของนางสิบสอง นางยักษ์สนธมารจึงได้ให้ภูติเงาออกตามหานางสิบสอง
ระหว่างที่นางสิบสองเดินหลงอยู่ในป่า ภูติเงาได้ปรากฏตัวในเงาสะท้อนของลำธาร เห็นนางสิบสองที่ได้ตามหา จึงรีบไปแจ้งพระนางสนธมารพระนางสนธมารสั่งให้คนในเมืองยักษ์แปลงตัวเป็นคนให้หมดแล้วรับนางทั้งสิบสองให้เป็นธิดาบุญธรรม เพื่อรอให้ดวงตาของนางทั้งสิบสองโตพอเหมาะที่จะใช้ทำยานางทั้งสิบสองโตจนเป็นสาว เภา น้องคนสุดท้องเริ่มสงสัยว่าคนในเมืองจะเป็นยักษ์ จนได้โอกาสที่พระนางสนธมารออกเดินทางไปนอกเมือง จึงรีบพาพวกพี่ ๆ หนีออกจากเมือง นางยักษ์สนธมารกลับมารู้ว่าพระธิดาทั้งสิบสองหายไปก็โกรธมาก รีบให้ภูติเงาออกตามหา
                ณ เมืองกุตารนคร โหรหลวงได้ทำนายว่าท้าวรถสิทธิ์ จะทรงมีเนื้อคู่ทีเดียวสิบสองคน ท้าวรถสิทธิ์สั่งให้ทหารออกตามหานางสิบสองคนที่เป็นพี่น้องกัน ในขณะที่นางทั้งสิบสองได้หนีเข้ามาในกุตารนครพอดี  ท้าวรถสิทธึจึงอภิเษกนางทั้งสิบสองให้เป็นมเหสีตั้งแต่นั้นมา กล่าวถึงเมืองพญายักษ์ ซึ่งมีภรรยาเป็นมนุษย์  อยากมีลูก พญายักษ์ รู้ดีว่าน้ำมะงั่วหาว มะนาวโห่นั้นมีอยู่ที่เมืองทานตะวันเท่านั้น เห็นดังนั้นพญายักษ์ จึงแต่งหนังสือ และให้เสนาส่งไปที่มีเมืองทานตะวันทันที นางศรีสมุทรได้ลิ้มรสมะงั่วหาวมะนาวโห่ก็ได้กำเนิดบุตรสาวฝาแฝด พญายักษ์ดีใจมาก และได้ตั้งชื่อให้กับธิดาองค์ใหญ่ ชื่อเมรี องค์เล็กชื่อศรีทัศนา 
สนธมารเมื่อรู้ข่าว จึงมีหนังสือให้เสนาไปถวายให้กับพญายักษ์ เพื่อขอธิดาองค์หนึ่งของพญายักษ์มาเลี้ยง พญายักษ์ยอมยกธิดาเมรี ให้นางยักษ์สนธมารเพื่อเป็นลูกเลี้ยง และเลี้ยงดูธิดาเมรีอย่างรักใคร่  ระหว่างนั้นนางยักษ์สนธมาร  ก็ได้ให้ภูติเงาตามหานางทั้งสิบสองจนพบ ว่าอยู่ที่เมืองกุตารนครจึง จึงให้เมรีดูแลเมือง ส่วนตนออกเดินทางไปกุตารนคร ออกอุบายปลอมตัวเป็นหญิงสาว แล้วใช้ยาเสน่ห์ที่ปรุงโดยศัลยมาร เพื่อทำให้ท้าวรถสิทธิ์หลงรัก

                ท้าวรถสิทธิ์โดนเสน่ห์มารยา ก็หลงนางสนธมารจนโงหัวไม่ขึ้น เมื่อสบโอกาส นางสนธมารก็แกล้งป่วย  บอกว่าแพ้นางทั้งสิบสอง ไม่สามารถเข้าใกล้ได้ ท้าวรถสิทธ์จึงสั่งให้จับนางสิบสองไปขังไว้ในถ้ำพระนางสนธมารให้ศัลยมารแปลงเป็นคนเข้ามาเลือกดวงตาของนางทั้งสิบสองในถ้ำ แต่ดวงตาของเภาคนสุดท้องยังไม่ได้กำหนด ศัลยมารจึงควักไปข้างเดียว เพื่อรอเวลาศัลยมารนำดวงตาไปเก็บไว้ที่เมืองทานตะวัน ส่วนพระนางสนธมารก็รอเวลาให้ทุกอย่างพร้อม  โดยหารู้ไม่ว่าระหว่างที่อยู่ในถ้ำ เภาได้ตั้งครรภ์ และคลอดลูกของตน ออกมา โดยตั้งชื่อลูกของตนว่ารถเสน
  ที่มาและความสำคัญ
                 เรื่องนางสิบสอง หรือพระรถ-เมรี ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนิทานพื้นบ้านของไทย เป็นวรรณกรรมที่ได้รับความนิยมแพร่หลาย มีกันเล่าสืบๆ กันมาแบมุขปาฐะ แล้วจึงมีการเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องหนึ่งใน ปัญญาสชาดกโดยพระเถระชาวเชียงใหม่  แต่เค้าโครงเรื่องของพระรถเมรีนี้มีความคล้ายคลึงกับนิทานบ้านชาติต่างๆ อาทิ อินเดีย ลังกา ไทยใหญ่ เขมร พม่า ลังกา ลาว และ อาหรับ เป็นต้น
                ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า พระรถเมรีของไทยน่าจะมีต้นเค้ามาจากนิทานพื้นบ้านของชาติอื่นที่มีการติดต่อสัมพันธ์กับประเทศไทยในอดีต  ซึ่งน่าจะเป็นการรับถ่ายทอดแบบทางมุขปาฐะแบบการเล่านิทานสู่กันฟัง แล้วจึงแพร่หลายต่อมาจนเข้าใจว่าเป็นนิทานพื้นบ้านของเราเอง
เมื่อพระเถระชาวเชียงใหม่ได้แต่งปัญญาสชาดก ก็ไดนำเรื่องพระรถนี้ไปแต่งเป็นรถเสนชาดกด้วย ซึ่งการที่นิทานเรื่องนี้แพร่หลายมากในท้องที่ในภาคเหนือนั้น สันนิษฐานได้สองทางคือ ดินแดนล้านนาเป็นถิ่นที่นิทานเรื่องนี้เริ่มแพร่หลายเข้าสู่ประเทศไทย หรือเริ่มแพร่หลาย ณ จุดใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัด แต่ได้รับความนิยมหลังจากมีการนำเอานิทานเรื่องรถเสนชาดกมาแต่งเป็นเรื่องหนี่งในปัญญาสชาดกแล้ว ซึ่งมีปรากฏหลักฐานหลงเหลือเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์จารึกในใบลานเรื่อง นางสิบสอง”  เรื่องพุทธเสนกะ เก็บไว้ตามวัดต่างๆนอกจากนี้เรื่องพระรถยังมีการนำไปแต่งเพลงกล่อมเด็ก เพลงร้องเล่นเด็ก และแต่งเป็นวรรณคดีร้อยกรองหลายสำนวนในรูปแบบฉันทลักษณ์ต่างๆ อาทิ กลอนบทละคร กลอนอ่าน หรือกลอนนิทาน กลอนนิราศ กาพย์ขับไม้ คำฉันท์ ซึ่งมีกลอนในวรรณกรรมลายลักษณ์ปรากฏเป็นเพลงพื้นบ้านด้วย
                                                                                                   ที่มา : หนังสือ ประชุมเรื่องพระรถ.กรมศิลปากร

1. ผู้เรียบเรียง        กิตติชัย พินโน 
เอกสารอ้างอิง    กรมศิลปากร. “บทละครเรื่องพระรถเมรี ใน ประชุมเรื่องพระรถ. กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2552.
คำสำคัญ 
พรหมจันทร์ , พราหมณี , เมืองไพศาลี , นาง 12 , นางสิบสอง , บุตรสาว , นางยักษ์ , ยักษ์สารตรา , เมืองทานตะวัน , เมืองตะวัน , ท้าวรถสิทธิ์ , ควักดวงตา , รถเสน , เมรี , ทัศนารี , เมืองกำพุช , ท้าวประทุมราช 
หมายเหตุ
             บทละครเรื่องพระรถเมรีเป็นวรรณคดีที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและไม่ปรากฏหลักฐานว่าแต่งในสมัยใด แต่มีผู้สันนิษฐานว่าเรื่องพระรถเมรีคงเป็นที่รู้จักแพร่หลายมานานแล้วดังปรากฏเป็นคำประพันธ์รูปแบบต่างๆ เช่น กาพย์ขับไม้ กลอนอ่าน กลอนนิราศ คำฉันท์ ฯลฯ ในส่วนของบทละครสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าคงจะมีมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลที่ 2 แต่ไม่ทรงแน่พระทัยว่าจะเป็นละครในสมัยอยุธยา ธนบุรี หรือสมัยรัชกาลที่ 1

2. ผู้เขียน  แพงขวัญ       



พิมพ์จำหน่าย ซีอ็ด บิ๊กซีลำปาง
สำนักพิมพ์ สุวีริยสาส์น, บจก.
เดือนที่พิมพ์  9/2011
ราคา 114 บาท


3. น้อย   ผิวผัน   แต่งนิทานนางสิบสองเป็นคำกลอนโบราณ
        เขียนเมื่อวันที่  1 สิงหาคม 2554



                                                             ร้านคลังนานาธรรม  ก่อตั้งพ.ศ. 2480
                                              161/6-8 ด้านข้างโรงเรียนกัลยาณวัตร ถนนกลางเมือง
                                              ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
                                              Tel 043-221591, 043-221346 แฟ๊กซ์ 043-223482
                                              EMAIL: KLANGNANATHAM@GMAIL.COM



                                                                                        บทที่ 2 
1. ชื่อเรื่องมาจากอะไร
    เรื่องนางสิบสองเป็นเรื่องที่ตั้งชื่อจากตัวละครทั้ง12คนที่กำเนิดมาด้วยกันและประสบพบเจอถูกควักลูกตาออกมาและร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมาจนจบบริบูรณ์
2. แก่นเรื่อง
 - การกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ
3. โครงเรื่อง         
        การเปิดเรื่อง
  - บรรยายถึงเศรษฐีเฒ่าผัวเมียที่มีลูกผู้หญิงถึง12คน
 การดำเนินเรื่อง
    - เศรษฐีนำลูกไปปล่อยไว้ในป่า
         - นางสิบสองไปพบนางยักษ์สารตราแล้วเอาไปเลี้ยงเป็นลูกแต่นางสิบสอลก็แอบหนีนางยักษ์สารตรา
        -  นางสิบสองไปอาศัยเทวดาที่ต้นไทรแล้วไปพบสระพังแล้วได้ฮ้อยตาปลา
         -  นางสิบสองจึงได้พบท้าวยาสิทธิ์เจ้าเมืองขีดขินและได้นำนางสิบสองมาเป็นมเหสี
         -  เมื่อนางยักษ์สารตรารู้จึงไปแก้แค้น นางสิบสองถูกจับไปขังไว้อุโมงค์และถูกควักลูกตาไป
         - นางสิบสองมีลูกแต่กินลูกเพราะความหิวแต่คนที่เป็นน้องคนสุดท้ายไม่กินลูกตัวเอง
         -  ลูกของน้องคนสุดท้อง มีชื่อว่า ท้าวรถเสน มีความเก่งกล้าทุกอย่าง
         -  ต่อมานางยักษ์สารตราหาอุบายจะฆ่าท้าวรถเสนจึงให้รถเสนไปนำเอาลูกตาเอากลับมาให้มารดาและป้าๆ
        -  พระพายนำลูกตานางสิบสองไปให้นางเมรีเก็บไว้ที่เมืองทานตะวัน
        - นางยักษ์สารตราจึงเเกล้งทำเป็นไข้เพื่อจะให้รถเสนนำหนังสือไปให้นางเมรีที่เมืองทานตะวันเพื่อให้ฆ่าเสียแต่            พระอินทร์ลงมานิมิตเข้าฝันบอกเหตุการณ์ที่นางสารตราคิดจะฆ่าให้รถเสนทราบทุกประการ 
         - พระยาสิทธิ์จึงใช้รถเสนไปส่งสารที่เมืองทานตะวันท้าวรถเสนจึงลามารดาเพื่อออกเดินทาง
         - รถเสนออกเดินทางมาถึงป่าจึงพบฤาษี ฤาษีจึงขอดูสารแล้วจึงแปลงสารให้ใหม่
        - พอมาถึงเมืองทานตะวันพระรถเสนก็เห็นนางเมรีจึงได้รักกันแล้้วทำพิธีแต่งงาน
            ปมของเรื่อง
          เกิดจากนางทั้งสิบสองหนีไปจากยักษ์สารตราจึงทำให้นางยักษ์โกรธ
            การคลายปม
           พระรถเสนไปเอายาวิเศษณ์ที่เมืองตะวันมารักษาแม่และป้ายักษ์รู้ก็ตาย
            การปิดเรื่อง
        - พระรถเสนฆ่านางสารตราลงแต่พระรถเสนกับนางเมรีไม่ได้ครองรักกันเพราะความกตัญญูของรถเสนที่มีต่อ              มารดาป้า ๆ
4. ตัวละคร
     1.)ตัวละครหลัก







เภา
คาแรคเตอร์ : น้องคนสุดท้อง เฉลียวฉลาดไม่เหมือนใคร มีความคิดเป็นตัวของตัวเองไม่ถูกชักจูงได้ง่าย ๆ






      




ท้าวรถสิทธิ์ 
คาแรคเตอร์ : เจ้าเมืองขีดขิน เป็นพ่อของพระรถเสน











พระรถเสน
คาแรคเตอร์  :โอรถของพระรถสิทธิ์กับเภา










เมรี
คาแรคเตอร์
  :  พระธิดาเลี้ยงของนางยักษ์สนธมาร มีพ่อเป็นพญายักษ์ ส่วนแม่เป็นมนุษย์












สนธมาร(สารตรา)
คาแรคเตอร์
 : นางยักษ์เจ้าเมืองทานตะวัน มีอายุนับพันปี แต่เริ่มแก่จนต้องหายาอายุวัฒนะมาช่วยรักษาความสาว








2. ตัวละครรอง






หนึ่ง
คาแรคเตอร์
 : พี่ใหญ่คนโต เป็นผู้นำ มีเหตุผล (คำสั่ง หัวหน้า)











สอง
คาแรคเตอร์ : ขี้สงสัย มีอะไรสงสัยไปหมด (คำถาม)












สาม
คาแรคเตอร์ : ขี้แย อะไรนิดอะไรหน่อย ร้องไห้โฮ
(เสียใจ อ่อนไหว)











สี่
คาแรคเตอร์ : กินจุ หิวตลอดเวลา (หิว)











ห้า
คาแรคเตอร์ : ขี้ตื่นกลัว มีอะไรตื่นกลัวหมด วิตกจริต
 ( ตื่นกลัว เสียสติ)











หก
คาแรคเตอร์
 : สวยสำอาง คิดว่าตัวเองสวยที่สุด เรื่องมากที่สุด
 (หลงตัวเอง )









เจ็ด 
คาแรคเตอร์ : คิดว่าตัวเองฉลาด แต่ชอบเสนอความคิดโง่ ๆ ไม่คิดเอง (ความคิดด้านลบ)









แปด
คาแรคเตอร์ : พูดจากแดกดัน ประชดประชันตลอดเวลา ขี้อิจฉาเห็นใครดีกว่าไม่ได้ (อิจฉา) 













เก้า
คาแรคเตอร์
 : แสนดี มองโลกในแง่ดี ฝันหวานสุด ๆ ชอบพูดเป็นบทกวี (เพ้อฝัน)









สิบ
คาแรคเตอร์ : ไฮโซ ดูถูกคนจน เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อทำตัวเป็นเด็กนอก (หยิ่ง)












สิบเอ็ด
คาแรคเตอร์ : ห้าว เป็นทอม นักเลง ชอบความรุนแรง(ความรุนแรง)












สีสวาท
คาแรคเตอร์
 : ม้าพูดมาก พูดได้หลายภาษา เทวดาเสกให้มีความสามารถหลายอย่าง แต่ใช้ไม่เป็น สามารถเหาะเหินเดินอากาศได้




5. ภาษา
                นิทาน นางสิบสอง  เป็นการแต่งขึ้นโดยการใช้ภาษาถิ่นอีสานของ จังหวัดขอนแก่น และภาษาถิ่นอีสานของ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งแต่งผ่านบทคำกลอนโบราณภาคอีสาน จะมีเป็นกลอนเปล่าด้วยเพราะจะมีบางที่ไม่สัมผัส ระหว่างวรรคสำนวนไพเราะเสนาะเฉพาะเล่มที่ข้าพเจ้าศึกษาแต่เล่มอื่นอาจจะเป็นภาษากลางก็ได้  เหมาะแก่นักอ่านทั่วไป และนำไปประยุกต์เป็นละครการ์ตูน ละครเวที หนังสือเรียน หมอลำเรื่อง
6. ฉาก/สถานที่
                ฉากหลัก
                                1.ดำเนินเรื่องอยู่ที่ป่าเพราะเป็นนางทั้งสิบนางเกิดอยู่ในป่า
                ฉากรอง
                                1. เมืองทานตะวันที่ยักษ์สารตรานำนางทั้ง 12 นางไปอยู่
                                2. เมืองขีดขิน เมืองของพระรถสิทธิ์ที่นางเภาไปเป็นมเหสี
                                3. นางสิบสองไปขออาศัยต้นไทรนาง
                                4. นางสิบสองไปพบสระพังแล้วฮ้อยตาปลา


บทที่ 3
ความโดดเด่นเรื่องนางสิบสอง

  วรรณกรรมท้องถิ่น นิทานเรื่องนางสิสอง (นิทานเรื่องนี้เราจะจำตอนไหนได้ที่สำคัญ ของเรื่อง)
นิทานเรื่องนี้เด่น ๆ ที่อ่านและฟังเราก็มักจะจำตอนที่นางยักษ์ควักลูกตาของนางทั้ง12นางและตอนที่ว่าพระรถไปเมืองทานตะวันแล้วก็รักกับเมรี มีชื่อตอนว่า
- ตอนนางสิบสองถูกขังอยู่ในอุโมงค์และถูกควักตาไปให้นางแปลงอีก
- ตอนพระรถกับนางเมรีเห็นกันก็รักกันแล้วก็ทำพิธีแต่งงาน


บทที่4การนำไปประยุกต์ใช้

1.ทำเป็นหนังสือวรรณกรรมพื้นบ้านของไทย
2.ทำเป็นสมุดภาพระบายสี เรื่องนางสิบสอง
3. ละครนางสิบสอง โทรทัศน์กองทัพบกช่อง7นางสิบสอง 
- นางสิบสองเป็นเรื่องราวของหญิงสาวสิบสองคนซึ่งเป็นพี่น้องท้องเดียวกันและต้องเจอกับปัญหามากมาย ได้ถูก ---=นำมาทำเป็นละครพื้นบ้านครั้งแรก ทางช่องทางช่อง 7 สี เมื่อปี 2531
=นำแสดงโดย  ศักสิทธิ์ ทวีกุล , สินี หงษ์มานพ ครั้งที่ 2 ทางช่อง 5 ในปี 2538
=นำแสดงโดย ไพโรจน์ ใจสิงห์ , กฤติยาภรณ์ ตรีรัตนพันธุ์ , สุดหทัย ชมพนา , ลูกน้ำ เพิ่มสกุล , นภาพร หงสกุล ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ. 2544
=นำแสดงโดย สพล ชนวีร์ มาติกา อรรถกรศิริโพธิ์ สิริมา อภิรัตนพันธ์ คณธร ฟักทองผล ครั้งที่ 4 ทางช่องไทยทีวี พ.ศ.2558 และนำมาสร้างอีกครั้งทางช่อง 7 สี ในปี 2559 - 2560
=นำแสดงโดย ธีระธันญ์ ขจรชัยเดชาวัฒน์ กิ่งกาญจนป์ มีสุข ดารินท์ ดารากานต์ พบศิลป์ โตสกุล 
4. เพลงประกอบละครนางสิบสอง









อ้างอิง
       - ข้อมูลทางบรรณานุกรมของบทความ "นางสิบสอง (ละครไทย พ.ศ. 2531)"
                   ชื่อบทความ: นางสิบสอง (ละครไทย พ.ศ. 2531)
      -
http://www.broadcastthai.com/web/index.php?view=story&menu=2&id=61
      - น้อย  ผิวผัน.  เรื่อง นางสิบสอง.  บริษัท คลังนานาธรรมจำกัด.  พ.ศ. 2554
      - หนังสืออ้างอิงกรมศิลปากร.ประชุมเรื่องพระรถ.กรุงเทพฯ : หสน.เจี้ยฮั้ว,๒๕๕๒.
      - เว็บไซต์อ้างอิง
นางสิบสอง พระรถ - เมรี www.wannakadee.com






สรุปท้ายเรื่องอินโฟกราฟฟิค
เรื่อง  นางสิบสอง


















































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น